Blank Space is not Negative Space
เวลาเราเข้าเล่นเว็บไซต์บางทีก็จะสังเกตุเห็นบางเว็บมีพื้นที่ว่างเยอะ ยิ่งเป็น design สมัยใหม่ๆ หน่อยนี่ก็จะยิ่งมีแต่พื้นที่ว่าง ตัวอักษรน้อยๆ หรือเน้นใช้รูปไปมากกว่า ซึ่งอาจจะขัดกับหลักการทำเว็บไซต์ในสมัยก่อนที่โยนความคิดใส่หัวเราว่าให้ใช้พื้นที่ส่วนต่างๆ ให้คุ้ม จนเดี๋ยวนี้ผมมักจะได้ยินตามเว็บบอร์ดต่างๆ พูดถึงกันมากอย่าง “ทำไมมีแต่พื้นที่โล่งๆ” “เว็บไซต์ธรรมดาๆ ไม่เห็นมีอะไรเลย” ต่างๆ นาๆ
แต่ความจริงแล้ว blank space หรือพื้นที่ว่างเหล่านั้นอาจจะไม่ได้หมายความว่าเป็นพื้นที่ที่ใช้อย่างฟุ่มเฟือย หรือที่ฝรั่งเขาเรียกกันว่า negative space ก็ได้ ผมขอยกตัวอย่าง poster หนังที่กำลังจะเข้าฉายเร็ววันนี้มาให้ทุกท่านได้ดูกันสักนิดนึง ซึ่งส่วนตัวแล้วผมว่า poster ตัวนี้ค่อนข้างครีเอทได้ตรงจุดดีมากตัวนึงเลย
คุณผู้อ่านจะเห็นว่า poster ของหนังจากค่าย Marvel ที่ชื่อว่า Ant-Man นี้ต่างก็ใช้ blank space หรือ negative space ได้ดีมากตัวอย่างนึง ถึงแม้หลายท่านอาจจะเอ่ยปากบอกขึ้นมาว่า มันก็แทบจะไม่เห็นมีอะไรเลย สร้างสรรค์ตรงไหน?
แต่ความจริงแล้ว คนสร้างอาจจะพยายามใช้ “พื้นที่ว่าง” เพื่อเน้นให้ความสำคัญกับวัตถุใดวัตถุหนึ่งที่อยู่ด้วยกันก็ได้ ทีนี้เรากลับมาที่ scope ของเว็บไซต์กันครับ พื้นที่ว่าง หรือ blank space เนี่ยช่วยอะไรงานเว็บไซต์ หรือออกแบบได้บ้างนะ..
รูปภาพด้านบนคือเว็บไซต์ Kapook อย่างที่หลายท่านคุ้นเคยดีครับ Kapook เป็นเว็บไซต์ท่า ที่รวมเนื้อหา ข่าว สาระต่างๆ เข้ามาไว้ที่เว็บไซต์ตัวเอง โดยคุณผู้อ่านจะเห็นว่าหน้าแรกหรือรูปภาพด้านบนมีทั้งหมวดหมู่โน้นนั้นนี้เต็มไปหมด เรียกได้ว่าใช้พื้นที่ทุกส่วนได้ค่อนข้างคุ้มอย่างที่เรากล่าวไปในตอนแรกของบทความ
ความคาดหวังของผู้ใช้คือต้องการเข้ามาหาอะไรอ่าน อะไรดู ฯลฯ ซึ่งก็ไม่แปลกที่เว็บไซต์ท่าจะตอบโจทย์ความต้องการพื้นฐานเหล่านั้นด้วยการเสริ์ฟ content ทุกอย่างให้เยอะ ไว้ในที่เดียว ทั้งนี้เพื่อการแข่งขันกับคู่แข่งอื่นๆ อย่าง Sanook, BoxZa อีกด้วย
แล้ว blank space จะมีความสำคัญยังไงล่ะ?

อย่างที่คุณผู้อ่านเห็นในรูปภาพด้านบน ซึ่งผมขอยกตัวอย่างงานออกแบบนึงมาให้ดูกัน เราจะเห็นว่าแตกต่างจากเว็บไซต์ท่าอย่าง Kapook แบบคนละโลกกันเลย Interworks (รูปภาพด้านบน) จะมี blank space ที่เห็นได้อย่างชัดเจน ทุกส่วนที่เป็น content จะถูกจัดให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ทั้งนี้ศิลปินต้องการจะสื่อให้ผู้ใช้ที่เข้ามาบนเว็บไซต์ Interworks ต้องการมองไปที่ส่วนกลางในครั้งแรกที่มองเห็น
ศิลปินจึงพยายามสร้าง blank space ขึ้นมาล้อมรอบ หรือพยายามลด element ที่มีบนเว็บไซต์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วเหลือไว้แต่อะไรที่สำคัญเพื่อสร้างบรรยากาศให้ผู้ใช้เข้าใจเท่านั้น
ใช่ครับ จุดประสงค์ของเว็บไซต์นั้นต่างกัน
Kapook ต้องการให้ content ที่มากที่สุดเท่าที่ผู้ใช้จะมองเห็นได้ โดยไม่รู้เลยว่าผู้ใช้ที่เข้ามาเว็บไซต์นั้นต้องการจะรู้หรืออ่านอะไร บางทีอยากจะอ่านข่าวกีฬา แต่ถ้าดันไม่มี content เหล่านั้นให้ ผู้ใช้ก็จะย้ายไปเว็บไซต์คู่แข่งอย่าง Sanook หรือ MThai ได้ จึงให้อะไรที่เยอะไว้ก่อน
ถ้าเราเป็นผู้ใช้ทั่วไป เราก็คงกวาดสายตาไปทั่วโดยที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มที่จุดไหนก่อนดี อะไรที่เป็นจุดสำคัญบ้าง อะไรที่กดได้ อะไรที่กดไม่ได้ ต้องใช้ความเข้าใจสักระยะหนึ่ง ให้ผู้ใช้เองเข้ามาบ่อยๆ แล้วก็จะใช้งานเป็นไปเอง ด้วยประสบการณ์
กลับกันเว็บไซต์แบบ Interworks นั้นต้องการให้ content ที่เกี่ยวกับ product ที่ตัวเองทำ ต้องการให้ผู้ใช้รู้ว่า “เนี่ย ถ้าคุณเข้ามาที่เว็บไซต์เรานะ คุณจะรู้ว่า product ที่เราทำมันเกี่ยวกับอะไร” อะไรที่ไม่สำคัญก็เอาออกไป เน้นส่วนที่สำคัญ

พอผู้ใช้เข้ามาครั้งแรกเขาก็จะสังเกตุได้ถึงสิ่งที่เด่นออกมาก่อน ผู้ใช้จะกวาดสายตาแบ่งลำดับความสำคัญของหน้าเว็บไซต์นั้นได้เอง ศิลปินจึงต้องอาศัย blank space มาช่วยในการแสดงผลส่วนนี้ และนี้ก็เป็นเหตุผลหลักว่าทำไม blank space จึงไม่เท่ากับ negative space เสมอไป
บางทีพื้นที่ว่าง ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไร้ค่า
เพียงแต่สำรวจความต้องการของเรา สิ่งที่เราต้องการจะบอกไปยังผู้ใช้ คิดถึงรูปแบบหลักที่เราต้องการจะนำเสนอบนเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับ content ที่มี เพียงเท่านี้เราก็จะจัดการ “พื้นที่ว่าง” ได้อย่างมีประโยชน์แล้วล่ะครับ